การขอสินเชื่อนั้นโดยทั่วไปจะต้องใช้การคำประกันโดยใช้หลักทรัพย์หรือบุคคลค้ำประกัน เพื่อเป็นการรับรองว่าจะไม่ผิดนัดชำระหนี้ หรือพูดง่าย ๆ ว่ามีโอกาสที่จะโดนเบี้ยวหนี้ได้น้อยลงนั่นเองค่ะ เพราะมีหลักทรัพย์ให้ยึดไว้ขายหากเกิดการผิดนัดชำระหนี้ขึ้นมาจริงๆ และยังมีบุคคลที่ค้ำประกันอีกที่ยังสามารถให้เรียกเก็บหนี้ที่ผิดนัดชำระได้
เหตุผลหลักๆ ที่ทำให้ขอสินเชื่อบ้านไม่ผ่านนั้น คือ มีประวัติการชำระหนี้ที่ไม่ดี ชำระหนี้ไม่ตรงเวลา รายรับน้อยกว่าที่ทางธนาคารกำหนด หรืออาจจะไม่เข้าเงื่อนไขตามที่สถาบันการเงินกำหนดไว้ หรือที่เรียกกันติดปากว่า การติดแบล็คลิส
แล้วคุณรู้หรือไม่? ว่าการกู้ร่วมกับการค้ำประกันแตกต่างกันมากเลยทีเดียว หากคุณไปเซ็นหนังสื่อสัญญาสักฉบับหนึ่งโดยที่ยังไม่ทันได้ศึกษารายละเอียดก่อนนั้น อาจจะทำให้เกิดปัญหาใหญ่ขึ้นได้เช่นกันค่ะ วันนี้เราจะมาไอธิบายให้เข้าใจแบบง่ายๆ ว่า กู้ร่วม กับ ค้ำประกัน แตกต่างกันตรงไหน ควรหรือไม่กับการที่ต้องร่วมรับผิดชอบในหนี้ก้อนนี้ของบุคคลที่เรารู้จัก
สินเชื่อที่จำเป็นต้องมีบุคคลค้ำประกันนั้นมีดังนี้ สินเชื่อบ้านและสินเชื่อรถยนต์ ซึ่งเป็นสินเชื่อที่มีมูลค่าของเงินกู้ยืมที่มาก เป็นหลักหลายแสนบาทหรือหลายล้านบาท และใช้ระยะเวลาในการผ่อนชำระที่นานมาก กินระยะเวลาเป็นสิบปีขึ้นไปเลยทีเดียวสำหรับสินเชื่อบ้าน และสำหรับสินเชื่อรถอาจนานถึงแปดปีเลยค่ะ ซึ่งต่างจากสินเชื่อบัตรเครดิตหรือสินเชื่อบุคคลที่ไม่จำเป็นต้องมีหลักทรัพย์หรือบุคคลค้ำประกัน วงเงินที่ให้ก็ไม่มากนักอยู่ที่สูงสุดไม่เกิน 5 เท่าของรายได้
สำหรับการขอสินเชื่อบ้านนั้น การหาผู้กู้ร่วมก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ทำให้มีโอกาสได้รับอนุมัติสินเชื่อมากขึ้น ซึ่งส่วนมากจะใช้พี่น้องหรือคู่สมรสในการยื่นกู้ร่วม เพราะเมื่อธนาคารหรือสถาบันการเงินพิจารณาก็จะนำรายได้ของผู้กู้ร่วมมาคิดด้วย รวมกับผู้กู้หลัก โอกาสได้รับอนุมัติจึงมากขึ้นและบางครั้งวงเงินที่ได้รับก็มากขึ้นด้วยค่ะ
สำหรับการขอสินเชื่อรถยนต์นั้น อาจต้องใช้คนค้ำประกันหรือไม่ต้องใช้ก็ได้ ทางสถาบันการเงินจะมองที่เครดิตของผู้ยื่นขอกู้ว่าดำเนินการชำระหนี้ที่ผ่านมาดีมากแค่ไหน กำลังในการผ่อนจ่ายสินเชื่อทำได้ดีรึเปล่า เท่าที่เห็นได้ทั่วไปคือมีคนค้ำประกันหนึ่งคน หรือยื่นเองด้วยตัวคนเดียวก็ผ่านเกณฑ์ได้เช่นกันค่ะ
คนกู้ร่วมกับคนค้ำประกัน มีความแตกต่างกันอย่างไร ก่อนอื่นเราต้องมาดูกันก่อนว่าคนกู้ร่วมคือใครและคนค้ำประกันคือใครมีสถานะอย่างไรในสัญญากู้ยืมค่ะ
คนค้ำประกัน คือ บุคคลที่มาค้ำประกันสินเชื่อให้กับลูกหนี้ โดยสถานะไม่ได้เป็นลูกหนี้ร่วมเหมือนกับคนกู้ร่วม แต่จะเป็นแค่คนค้ำประกันในกรณีที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ และจะถูกธนาคารหรือสถาบันการเงินไปไล่เบี้ยเอาคืนกับคนค้ำประกัน แทนค่ะ เพราะการค้ำประกันถือว่าเป็นการสัญญาว่าจะชำระหนี้คืนแทน หากลูกหนี้ผิดสัญญาไม่ชำระหนี้คืนตามกำหนดนั่นเอง
คนกู้ร่วม ก็คือ บุคคลที่มากู้ร่วมกับลูกหนี้มีสถานะเป็นเหมือนลูกหนี้คนหนึ่ง หรือเรียกง่ายๆ เป็นหนี้ร่วมกัน และคนกู้ร่วมนี้แน่นอนว่าต้องได้รับประโยชน์ร่วมด้วยในการกู้ครั้งนี้ค่ะ ในขั้นตอนที่ธนาคารหรือสถาบันการเงินจะพิจารณาอนุมัติหรือไม่อนุมัติสินเชื่อนั้น จะนำข้อมูลของผู้กู้ร่วมมาร่วมพิจารณาด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องรายได้ต่อเดือน ภาระหนี้สินที่มีอยู่ความสามารถในการชำระหนี้ รวมถึงประวัติในการชำระหนี้ด้วย เมื่อสินเชื่อได้รับการอนุมัติเรียบร้อยแล้ว ผู้กู้หลักและผู้กู้ร่วมก็จะเป็นลูกหนี้ร่วมกันอย่างสมบูรณ์ค่ะ
ข้อแตกต่างระหว่าง คนกู้ร่วมกับคนค้ำประกัน
1.คนค้ำประกันจะเป็นใครก็ได้ จะเป็นคนที่มีสายสัมพันธ์ทางเครือญาติหรือไม่ก็ได้ แต่ว่ากรณีคนกู้ร่วมนั้นจะต้องมีสายสัมพันธ์ทางเครือญาติเท่านั้น เช่น บิดา มารดา บุตร สามี ภรรยา พี่น้องพ่อแม่เดียวกันหรือญาติที่มีนามสกุลเดียวกันค่ะ
2.ธนาคารจะนำรายได้ ภาระหนี้สินและค่าใช้จ่ายของผู้กู้ร่วมมาร่วมพิจารณา เหตุที่ต้องนำทั้งรายได้รายจ่ายของผู้กู้ร่วมมาคำนวณด้วยนั้น เพื่อพิจารณาอนุมัติสินเชื่อรวมถึงเรื่องของวงเงินด้วย ในขณะที่คนค้ำประกันธนาคารจะไม่นำรายได้ของคนค้ำประกันมารวมคิดเพื่อพิจารณาอนุมัติจะยังคงพิจารณาเฉพาะรายได้ของผู้กู้เท่านั้นค่ะ
3.คนค้ำประกันจะไม่มีโอกาสมีกรรมสิทธิ์เหนือทรัพย์สิน ไม่ว่าสิ่งที่ค้ำประกันไปนั้นจะเป็นบ้านหรือรถยนต์ของลูกหนี้หลังจากผ่อนชำระคืนเรียบร้อย ในขณะที่คนกู้ร่วมมีโอกาสที่จะมีกรรมสิทธิ์เหนือทรัพย์สินทั้งบ้านและรถยนต์ที่ผู้กู้ร่วมมีชื่อเป็นผู้กู้อยู่ด้วยหากร่วมผ่อนกับเขาด้วย
4.คนค้ำประกันจะไม่ต้องยุ่งเกี่ยวกับการชำระหนี้คืนปกติตามสัญญากู้ยืม ซึ่งถือเป็นหน้าที่ของลูกหนี้ที่ต้องชำระเอง แต่ในขณะที่ผู้กู้ร่วมนั้นหากมีชื่อเป็นผู้กู้ร่วมและจะมีกรรมสิทธิ์เหนือทรัพย์สินหากผ่อนชำระเรียบร้อย ก็มักจะต้องมีส่วนในการจ่ายชำระหนี้คืนด้วย แต่กรณีของผู้กู้ร่วมนี้ก็แล้วแต่ตกลงกันด้วย เพราะมีบางกรณีที่แม้มีชื่อเป็นผู้กู้ร่วม แต่ก็ไม่ได้มีส่วนในการจ่ายชำระเงินผู้กู้หลักเป็นผู้จ่ายเพียงผู้เดียว ก็มีเช่นกัน
5.ผู้กู้ร่วมที่ร่วมผ่อนชำระสินเชื่อบ้านด้วย สามารถนำดอกเบี้ยจ่ายไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ ในขณะที่คนค้ำประกันไม่สามารถทำได้ เพราะไม่ได้มีส่วนในการร่วมผ่อนชำระหนี้ในกรณีปกตินี้ด้วย
การจะกู้ร่วมกับใครหรือจะค้ำประกันหนี้ให้กับใครจึงควรคิดให้ดี คิดให้ถี่ถ้วนและคิดให้รอบคอบเสียก่อน หากไม่สนิทกันหรือมีความสงสัยในตัวคนที่มาขอให้ช่วยแม้แต่น้อย ก็ไม่ควรที่จะรับค้ำประกันหรือมีชื่อเป็นผู้กู้ร่วมอย่างเด็ดขาด
เหมือนกับการเลือก ผู้รับเหมามาสร้างบ้านให้เรา ไม่ว่าคุณจะต้องการบ้านสไตล์ แบบ บ้าน คฤหาสน์ บ้าน หรู โม เดิ ร์ น หรือ แบบ บ้าน modern luxury จะอย่างไรก็ตาม การคัดเลือกผู้รับเหมามาสร้างบ้านให้กับเราก็เป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญ
บิลด์แมน (buildman) เรามีผู้รับเหมาที่เชื่อถือได้ ให้บริการดูแลเกี่ยวกับการสร้างบ้านครบวงจร พร้อมเป็นที่ปรึกษาให้ ไว้ใจให้บิลด์แมน ดูแลเรื่องการสร้างบ้าน สามารถสมัครสมาชิกได้ที่ https://buildman.biz
ตลาดกลางรับเหมาก่อสร้าง ที่จบครบในที่เดียว “ผู้รับเหมา ผู้ออกแบบ วัสดุก่อสร้าง” พร้อมเป็นคนกลางช่วยบริหารสัญญาก่อสร้าง ฟรี!
สามารถอ่านบทความอื่นๆได้ที่ https://blog.buildman.biz