Choosing a house roof

เทคนิคเลือก หลังคาบ้าน ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

Choosing a house roof

เทคนิคเลือก หลังคาบ้าน ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

เมืองไทย เป็นประเทศที่อยู่ในโซนร้อน ไม่ว่าจะเป็นฤดูไหน อากาศก็ยังคงร้อน และเพราะอากาศที่เป็นอากาศแบบร้อนอบอ้าว คงทำให้หลายๆครอบครัว อาจมีการปรับปรุงหรือรีโนเวทบ้าน เพื่อหาแนวทางที่จะทำให้บ้านที่มีคนอาศัยอยู่ ได้มีอากาศที่เย็นสบายกันบ้าง และเพื่อหาแนวทาง บ้าน สร้าง เอง  ไว้เพื่อเป็นแนวทางการก่อสร้างบ้าน เพื่อให้อากาศในบ้านมีความเย็นสบายมากขึ้น  เรามีเทคนิคในการเลือกหลังคาบ้านซึ่งเป็นส่วนที่สัมผัสแดดมากที่สุดของบ้านมาฝากกัน

1. ​เลือกโดยพิจารณาจากรูปทรงหลังคา  แม้จะมีบ้านแนวต่างๆที่คนรุ่นใหม่ให้ความสนใจมากขึ้น เช่น บ้าน หรู สไตล์ โม เดิ ร์ น  หรือบ้านแนวปูนเปลือย และอาจใช้รูปทรงหลังคาที่แตกต่างกันไป แต่รูปทรงหลังคาที่มีความเหมาะสมกับสภาพอากาศของประเทศไทยและมีการระบายอากาศที่ดีคือ หลังคาทรงจั่วเพราะ มีลักษณะเป็นสามเหลี่ยมทรงสูง มีพื้นที่ว่างด้านบนหลังคาค่อนข้างมาก จึงช่วยป้องกันความร้อนให้ลงมาถึงบริเวณที่เราอยู่อาศัยได้น้อยลง และยังช่วยระบายความร้อน ทำให้อากาศในบ้านปลอดโปร่งขึ้น

2. ​เลือกโดยพิจารณาจากสีหลังคา  ทราบไหมว่านอกจากความสวยงาม สีของหลังคามีผลต่อการดูดซึมความร้อนเข้าสู่ตัวบ้านเป็นอย่างมาก โดยหลังคาสีโทนขาวหรือโทรอ่อน สามารถสะท้อนความร้อนได้มากถึง 80% และดูดซับความร้อนไว้น้อยเพียง 20% ในขณะที่หลังคาอื่นๆเช่นสีดำเข้มจะสะท้อนความร้อนออกไปเพียง 5% และดูดความร้อนไว้ถึง 95% เพราะฉะนั้นเราควรเลือกหลังคาโทนสีอ่อนมากกว่าสีเข้มเพื่อช่วยระบายและสะท้อนความร้อนจากแสงแดดที่จะเข้าสู่ตัวบ้าน

3. ​เลือกโดยพิจารณาจากวัสดุที่ทนทานต่อแดดและฝน  แน่นอนว่าหลังคาบ้านของเราต้องเจอทั้งแดดและฝน ปัญหาต่างๆ เช่นการเกิดราดำบนหลังคาที่เกิดจากการสะสมความชื้นของหลังคา  ดังนั้นควรเลือกวัสดุที่น่าเชื่อถึงและมีการรับรองคุณภาพในการพิจารณามุงหลังคาให้กับบ้านของเรา


4. ​พิจารณาจากการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อความเชื่อมั่นในมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การเลือกหลังคา ที่ทำจา่กวัสดุที่ได้รับ “ฉลากเขียว” จะช่วยการันตีได้ว่าหลังคาที่เราจะเลือกใช้นั้นเป็นมิตรต่อทั้งสุขภาพของคนในบ้านและสิ่งแวดล้อม กระเบื้องมุงหลังคาที่ได้รับการรับรองเครื่องหมายฉลากเขียว เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีค่าการสะท้อนแสงอาทิตย์ที่เหมาะสม จึงช่วยลดความร้อนที่สะสมบนแผ่นหลังคา และความร้อนที่ถ่ายเทเข้าสู่ตัวอาคาร ทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานน้อยลง และช่วยประหยัดค่าไฟฟ้า และปริมาณโลหะหนักและสารปนเปื้อนที่ตรวจพบในน้ำชะหลังคาอยู่ในเกณฑ์ความปลอดภัย ดังนั้นการกักเก็บน้ำฝนในการบริโภค จึงไม่มีอันตรายจากสารเคมีที่ปนเปื้อน และช่วยลดปริมาณสารเคมีตกค้างในสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

ในการสร้างที่อยู่อาศัย เราควรเลือกสิ่งที่ดีที่สุดต่อผู้อยู่อาศัย แม้แต่ หลังคา เมื่อต้องเลือกใช้แล้ว ก็ควรจะได้หลังคาที่ช่วยทำให้บ้านเย็น ประหยัดไฟ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เหมือนกับการเลือกทีมงานที่ให้คำปรึกษาเรื่องบ้าน หรือการเลือกหาผู้รับเหมาก็เช่นกัน บิลด์แมน เรามีผู้รับเหมาที่มีแบบบ้านสวยๆ พร้อมสร้าง พร้อมให้คำปรึกษา ให้ buildman เป็นที่ปรึกษาเรื่อง การสร้างบ้าน  เพียงเข้ามาลงทะเบียนเป็นสมาชิกกับบิลด์แมน ฟรี ที่  https://buildman.biz

ตลาดกลางรับเหมาก่อสร้าง ที่จบครบในที่เดียวผู้รับเหมา ผู้ออกแบบ วัสดุก่อสร้างพร้อมเป็นคนกลางช่วยบริหารสัญญาก่อสร้าง ฟรี!

สามารถอ่านบทความอื่นๆ ได้ที่    https://blog.buildman.biz/

Posted in สาระความรู้เรื่องบ้าน and tagged , , , , , , .

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *