How to renovate Elderly home

รีโนเวทบ้านให้เหมาะกับ ผู้สูงอายุ

ในปี พ.ศ. 2564 ประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aged Society) และจะกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอดในปี 2574 ทำให้ หลายๆ องค์กรในประเทศไทยล้วนใส่ใจและให้ความสำคัญกับ ผู้สูงอายุ มากยิ่งขึ้น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุ โดยสนับสนุนเรื่องการพัฒนาระบบเพื่อรองรับสังคมสูงวัย และการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ครอบคลุมทั้งมิติด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคม เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีคุณค่า มีศักดิ์ศรี ลดภาระการดูแลของครอบครัว และเป็นพลังของสังคม ส่วนหนึ่งของการใส่ใจคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุคือ เรื่องการออกแบบบ้านเพื่อคนในสังคมหรือเรียกว่า Universal Design 7  หลักการของ Universal Design 1.Equitable Use : ความเท่าเทียมกันในการใช้สอยของผู้ใช้ที่ต่างวัยและต่างความสามารถ 2.Flexibility in use : ปรับเปลี่ยนการใช้งานได้ 3.Simple and Intuitive Use : ใช้งานง่ายและสะดวก 4.Perceptible Information : การสื่อสารความหมายเป็นที่เข้าใจ มีสัญลักษณ์ที่ชัดเจนเข้าใจง่าย 5.Tolerance for […]

บ้านที่ให้ผู้รับเหมาก่อสร้างออกแบบให้ด้วย ประหยัดจริงหรือ!

จากสถิติรับเรื่องร้องทุกข์จากผู้บริโภค ประจำปีงบประมาณ 2562 ของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) พบว่า การร้องทุกข์เรื่องอสังหาริมทรัพย์และที่อยู่อาศัยมีสถิติสูงถึง 19.67% หรือกล่าวได้ว่าในการร้องทุกข์ 5 เรื่องจะมีเรื่องเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์อยู่ 1 เรื่องเสมอ ซึ่งเรื่องว่าจ้างก่อสร้างเป็นเรื่องสำคัญอันดับต้นๆ ของการร้องทุกข์ดังกล่าว เรื่องนี้เป็นอย่างไร เดี๋ยวบิลด์แมนจะคุยให้ฟัง   โดยหัวข้อสำคัญของการพิพาทคือ ผู้รับเหมาทิ้งงาน การก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ มีความชำรุดหลังการปลูกสร้าง การก่อสร้างที่ไม่ตรงตามแบบแปลน และการเก็บงานไม่เรียบร้อย โดยเฉพาะใน 2 หัวข้อหลัง คือ การก่อสร้างไม่ตรงตามแบบและการเก็บงานไม่เรียบร้อยนั้น ส่วนใหญ่ คือ ความคาดหวังของผู้ว่าจ้างและความเข้าใจของผู้รับเหมาก่อสร้างไม่ตรงกันนั่นเอง ซึ่งความขัดแย้งดังกล่าวนำไปสู่ปัญหาอื่นๆตามมาอีกมากมาย ทั้งๆที่ใช้แบบก่อสร้างตัวเดียวกัน แล้วเกิดความเข้าใจที่ไม่สอดคล้องกันได้อย่างไร   มีวารสารวิชาการของ มทร.สุวรรณภูมิฉบับหนึ่งเกี่ยวกับคดีความในงานก่อสร้างที่ถูกจัดทำขึ้นเมื่อปี 2562 พบว่า สาเหตุสำคัญ 3 ประเด็นแรกในการพิพาทงานก่อสร้างคือ รายละเอียดของสัญญา แบบที่ใช้สำหรับการก่อสร้าง และรายการคุณลักษณะเฉพาะของวัสดุ   อุตสาหกรรมก่อสร้างของไทย มีมูลค่าหลายแสนล้านบาทต่อปี แต่คงเถียงไม่ได้ว่า งานก่อสร้างขนาดเล็ก ที่มีมูลค่านไม่เกิน 20 ล้านบาท มีผู้ให้บริการที่มีมาตรฐานการทำงานที่ดีและมาตรฐานการให้บริการ […]

ปรับกลยุทธ์ให้บริษัทหรือทีมงานของเรา เท่าทันกระแสโลก

จากคุณสมบัติ 6 ข้อที่พูดถึงไปในบทความที่แล้วคือ คุณภาพ, การเปิดใจที่จะเปิดรับการพัฒนา, การทำการตลาดที่เหมาะสม, การควบคุมต้นทุน, ความรับผิดชอบที่มาพร้อมกับความรอบคอบในการทำงาน, และฝึกฝนให้ตนเป็นคนที่เข้มแข็ง นับเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการอยู่รอดในการทำธุรกิจในยุคโควิดนี้ ไม่ว่าจะตอนนี้หรือหลังจากที่โรคระบาดหายไป ทุกคนจำเป็นต้องตั้งสติ แล้วรีบหันมามองตัวเองว่า เราอยู่ในจุดไหนในการแข่งขันในตลาดของเรา เรื่องสำคัญที่สุดคือเรื่องคุณภาพ อะไรเรียกว่ามีคุณภาพดีพอ เราดีพอแล้วจริงหรือไม่ บริษัทหรือทีมงานเล็กๆ จะสามารถแข่งขันได้จริงหรือ วันนี้บิลด์แมนจะมาคุยแนวคิด ของบริษัทชั้นนำระดับโลกให้ฟัง ว่าเขาบริหารธุรกิจของเขาอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ   ทั้งในเรื่องของชีวิตหรือเรื่องของธุรกิจ ย่อมหนีไม่พ้นต้องมีการเปรียบเทียบ คนทำงานกินเงินเดือนนั้น หัวหน้าก็ต้องเปรียบเทียบการขึ้นเงินเดือนหรือตำแหน่ง โดยเทียบระหว่างเพื่อนในตำแหน่งเดียวกัน คนที่เป็นเจ้าของธุรกิจก็ต้องถูกลูกค้าเปรียบเทียบระหว่างทีมงานหรือระหว่างบริษัทที่ให้บริการในลักษณะเดียวกัน ยิ่งถ้ายังเป็นบริษัทเล็กๆ หรือทีมงานเล็กๆ อะไรจะช่วยทำให้มีความน่าเชื่อถือและแข่งขันในตลาดได้   ลองมองวิธีคิดของบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลก เช่น อาลีบาบา ที่เคยเข้ามาแสดงผลงานในเมืองไทยในปี 2561 อาลีบาลีบาบาสามารถปล่อยขายทุเรียนของเกษตรกรไทยได้ถึง 80,000 ลูก โดยใช้เวลาเพียง 1 นาที อ่านไม่ผิดนะ เพียงแค่ 1 นาทีจริงๆ หากพูดถึงเฉพาะขีดความสามารถของบริษัทนี้ เขาทำอย่างไรให้สามารถกลายเป็นบริษัทที่มีศักยภาพระดับโลกได้ภายในเวลาไม่กี่ปี   อาลีบาบา ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2547 ซึ่งในขณะนั้นมีเจ้าตลาดด้านนี้ของโลกอยู่แล้วคือ […]

คนไหนไม่เปลี่ยนรูปแบบธุรกิจเป็นออนไลน์ จะไม่สามารถรอดได้ จริงหรือ?

“ทุกคนต้องปรับตัว” หรือ “ใครไม่เปลี่ยนคุณจะหลุดไปจากวงการ” หรือ “ตอนนี้ทุกคนต้องขายผ่านออนไลน์เท่านั้น ไม่งั้นไม่รอด” คำพูดเหล่านี้จริงหรือ เดี๋ยวบิลด์แมนจะคุยให้ฟัง ตั้งแต่อดีต พ่อแม่มักบอกกับลูกว่า ต้องเรียนหนังสือให้เก่ง เรียนให้สูง จะได้เป็นเจ้าคนนายคน คำพูดเหล่านี้ในช่วงเจนเนอเรชั่น เอ็กซ์ (คนที่เกิดระหว่าง พ.ศ.2508-2522) จนถึงช่วงต้นของเจนเนอเรชั่น วาย (คนที่เกิดระหว่างพ.ศ.2523-2540) คงคุ้นเคยกับคำแนะนำที่พ่อแม่พูดกรอกหูกันบ่อยๆ อย่างไรก็ดี เรื่องนี้ไม่ใช่ถูกซะหมดและก็ไม่ได้ผิดซะทีเดียว ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น ในยุคนั้น ความหลากหลายทางอาชีพยังไม่มี ค่านิยมส่วนใหญ่อยู่ในสายอาชีพข้าราชการ ที่มีทั้งความมั่นคง และสวัสดิการที่ดี ทั้งในแง่การรักษาพยาบาล และการมีบทบาทในสังคมขณะนั้น คนเป็นครู เป็นพยาบาล จะเป็นที่นับถือในชุมชน ยิ่งถ้าเป็นอาชีพทางสายปกครอง เช่น ปลัดอำเภอ ยิ่งดีเข้าไปใหญ่ เพราะยังมีคนที่เป็นกันไม่มากในสังคมขณะนั้น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกคนที่เรียบจบ ปวส., ปริญญาตรี, หรือสูงกว่านั้นมาแล้ว จะมีงานทำ หรือมีงานทำแล้วจะประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานได้ทุกคน ในทางตรงกันข้าม บางคนอาจพูดว่า คนเรียนไม่สูงก็ประสบความสำเร็จได้ ตัวอย่างเช่น คุณเจริญ สิริวัฒนภักดี ผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) […]

ใครไม่ช่วยงานรับเหมาก่อสร้าง buildman ช่วยเอง

ปัญหาเศรษฐกิจครั้งใหญ่ กำลังจะเข้ามาในประเทศไทย เพราะเครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสำคัญๆ ดับเกือบทุกตัว ผู้ให้บริการ รับเหมาก่อสร้าง และการจำหน่าย วัสดุก่อสร้าง จะกระทบแค่ไหน เดี๋ยวบิลด์แมนจะคุยให้ฟัง เมืองไทยพึ่งพาการส่งออกกับการท่องเที่ยวเป็นหลัก พอคนทั่วโลกหยุดการใช้จ่ายเพราะต้องล็อคตัวเองอยู่แต่ในบ้าน ทำให้ความต้องการสินค้าลดลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อุตสาหกรรมใหญ่ๆ อย่างรถยนต์ น้ำมัน การบิน การท่องเที่ยว โรงแรม ร้านอาหารหรูๆ ได้รับผลกระทบแบบเต็มๆ แล้วธุรกิจ รับเหมาก่อสร้าง กับ วัสดุก่อสร้าง จะไม่โดนเลยเชียวหรือ เมื่ออุตสาหกรรมใหญ่ๆกระทบ และกระทบแบบซึมยาว เพราะโควิดจะไม่สามารถหายไปทันทีเมื่อทุกประเทศเริ่มเปิดเมือง ตรงกันข้าม โรคนี้ยังคงต้องอยู่กับพวกเราไปอีกนาน เพียงแต่อัตราการติดเชื้อกับการเสียชีวิตอาจทยอยลดลง มาตรการสำคัญที่ทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชนต้องงัดออกมาใช้คือ การยังคงต้องเริ่มให้เปิดเมืองเพื่อให้กลับมาทำมาหากินกัน แต่คงทำกันได้แบบไม่เต็มที่ เช่น ร้านอาหารยังคงต้องให้ซื้อกลับห้ามทานที่ร้าน สนามมวย การแข่งขันกีฬาที่ต้องจุคนดูจำนวนมากๆ คงต้องงดต่อไป การเดินหน้าเศรษฐกิจแบบไม่เต็มที่เช่นนี้ ถ้าเป็นรถยนต์ก็ต้องเรียกว่าเครื่องเดินไม่เต็มสูบ คนยังคงต้องใส่หน้ากากเข้าหากันแบบนี้ไปอีกจนกว่าจะเริ่มมีวัคซีนเข้ามาป้องกันโรค ซึ่งคงต้องรออีกเป็นปี และเมื่อค้นพบวัคซีนแล้วก็ต้องรอให้ประเทศที่คิดค้นได้ มีวัคซีนใช้พอเพียงในประเทศของตนก่อนจึงจะเริ่มการผลิตให้กับประเทศอื่นๆ ด้วยเหตุนี้กว่าจะมาถึงประเทศไทยคงต้องรอไปอีกไม่ต่ำกว่าปีครึ่งเป็นอย่างน้อย ผู้ประกอบการสำคัญๆ ในประเทศเกินครึ่ง อาจจะทนพิษเศรษฐกิจครั้งนี้ไม่ไหว คงต้องทยอยปิดตัวลงกันเป็นโดมิโน ความต้องการในการลงทุนเพิ่มก็จะลดลงแบบชัดเจน ในขณะที่บริษัทและผู้ให้บริการ รับเหมาก่อสร้าง และร้านที่จำหน่าย […]

วิกฤตโควิด กับ การสร้างบ้าน ใครได้ใครเสีย

มาตรการปิดจังหวัดต่างๆ กำลังเริ่มมีความเข้มข้น หลายจังหวัดออกมาตรการควบคุมการดำเนินชีวิตของประชาชนออกมา ห้างและสถานบันเทิงต่างๆ ทยอยถูกสั่งให้ปิดทุกจังหวัด ใครที่มีแผนหาผู้รับเหมาสร้างบ้านใหม่หรือซื้อบ้านไม่ว่าบ้านใหม่หรือบ้านมือสองช่วงนี้ ควรเดินต่อหรือยกเลิก เดี๋ยวบิลด์แมนจะคุยให้ฟัง ในการทำธุรกิจทุกอย่าง ย่อมมีทั้งขาขึ้นและขาลง ช่วงนี้ใครๆ ก็อาจรู้สึกว่าสถานการณ์ไม่ค่อยสู้ดี แต่จริงๆ แล้วทุกอย่างมี 2 ด้านเสมอ ขึ้นอยู่กับว่าเราอยู่ด้านไหนของเหตุการณ์นั้น โรคระบาดโควิดเข้ามา ทำให้การทำธุรกิจหลายอย่างสะดุด แต่โดยทั่วไปคนจะซื้อหรือสร้างบ้าน ไม่ใช่คิดวันนี้แล้วพรุ่งนี้ไปซื้อหรือสร้างได้เลย หลายคนคงได้เตรียมตัวกันมาระยะหนึ่งแล้ว ดีไม่ดีก่อนที่โรคระบาดจะเกิดขึ้นเสียอีก บางคนที่มีความพร้อมพอตัวหรือบางคนที่ไม่ได้รับผลกระทบทางการเงินกับวิกฤตครั้งนี้มากนัก สภาวะแบบนี้อาจเป็นโอกาสดีของคนเหล่านั้นก็เป็นได้ มองธุรกิจระดับโลก ทำไมเกิดวิกฤตขนาดนี้ ยังมีบริษัทหลายแห่งกลับยิ่งพยายามเสนอตัวเข้าซื้อกิจการเทสโก้โลตัสจากบริษัทแม่ที่อังกฤษ นั่นก็เพราะเขามองว่านี่คือโอกาสที่ดีที่จะต่อรองเพื่อให้ได้มาซึ่งสินทรัพย์ที่มีคุณค่าทางธุรกิจแต่ได้ในราคาที่ดีขึ้นนั่นเอง ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเมืองไทยก็เช่นกัน ไม่ว่าทั้งผู้ขายบ้านหรือผู้รับเหมาต่างต้องการเงินสดมาเสริมสภาพคล่องทั้งนั้น ผู้ประกอบการเหล่านั้นย่อมมีแนวโน้มมากขึ้นที่จะทำราคาให้ถูกลง เพื่อให้ตัวเองได้เงินสดจากลูกค้ามาพยุงสถานะของบริษัท ด้วยเหตุนี้ผู้ที่มีความพร้อมทางการเงิน อาจได้ราคาบ้านหรือได้ราคาสร้างบ้านที่ดีกว่าตอนสภาวะเศรษฐกิจปกติเสียอีก ภาครัฐเองก็ออกมาตรการช่วยเหลือหลายทางด้วยกัน เพื่อป้องกันไม่ให้ฟันเฟืองทางเศรษฐกิจที่สำคัญๆต้องล้มต่อเนื่องกันเป็นโดมิโน่ โดยขับเคลื่อนเครื่องมือทั้งด้านการเงินและการคลังไปพร้อมกัน เช่น ให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี นำรายจ่ายค่าจ้างลูกจ้างที่มีเงินเดือนไม่เกิน 15,000 บาท มาหักลดหย่อนภาษีได้ 3 เท่า ในช่วง 1 เมษายน – 31 กรกฎาคม 2563 ด้วยเงื่อนไขต้องคงจำนวนพนักงานไม่น้อยกว่าเดิมจากปีก่อน, ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ […]