การขอสินเชื่อนั้นโดยทั่วไปจะต้องใช้การคำประกันโดยใช้หลักทรัพย์หรือบุคคลค้ำประกัน เพื่อเป็นการรับรองว่าจะไม่ผิดนัดชำระหนี้ หรือพูดง่าย ๆ ว่ามีโอกาสที่จะโดนเบี้ยวหนี้ได้น้อยลงนั่นเองค่ะ เพราะมีหลักทรัพย์ให้ยึดไว้ขายหากเกิดการผิดนัดชำระหนี้ขึ้นมาจริงๆ และยังมีบุคคลที่ค้ำประกันอีกที่ยังสามารถให้เรียกเก็บหนี้ที่ผิดนัดชำระได้ เหตุผลหลักๆ ที่ทำให้ขอสินเชื่อบ้านไม่ผ่านนั้น คือ มีประวัติการชำระหนี้ที่ไม่ดี ชำระหนี้ไม่ตรงเวลา รายรับน้อยกว่าที่ทางธนาคารกำหนด หรืออาจจะไม่เข้าเงื่อนไขตามที่สถาบันการเงินกำหนดไว้ หรือที่เรียกกันติดปากว่า การติดแบล็คลิส แล้วคุณรู้หรือไม่? ว่าการกู้ร่วมกับการค้ำประกันแตกต่างกันมากเลยทีเดียว หากคุณไปเซ็นหนังสื่อสัญญาสักฉบับหนึ่งโดยที่ยังไม่ทันได้ศึกษารายละเอียดก่อนนั้น อาจจะทำให้เกิดปัญหาใหญ่ขึ้นได้เช่นกันค่ะ วันนี้เราจะมาไอธิบายให้เข้าใจแบบง่ายๆ ว่า กู้ร่วม กับ ค้ำประกัน แตกต่างกันตรงไหน ควรหรือไม่กับการที่ต้องร่วมรับผิดชอบในหนี้ก้อนนี้ของบุคคลที่เรารู้จัก สินเชื่อที่จำเป็นต้องมีบุคคลค้ำประกันนั้นมีดังนี้ สินเชื่อบ้านและสินเชื่อรถยนต์ ซึ่งเป็นสินเชื่อที่มีมูลค่าของเงินกู้ยืมที่มาก เป็นหลักหลายแสนบาทหรือหลายล้านบาท และใช้ระยะเวลาในการผ่อนชำระที่นานมาก กินระยะเวลาเป็นสิบปีขึ้นไปเลยทีเดียวสำหรับสินเชื่อบ้าน และสำหรับสินเชื่อรถอาจนานถึงแปดปีเลยค่ะ ซึ่งต่างจากสินเชื่อบัตรเครดิตหรือสินเชื่อบุคคลที่ไม่จำเป็นต้องมีหลักทรัพย์หรือบุคคลค้ำประกัน วงเงินที่ให้ก็ไม่มากนักอยู่ที่สูงสุดไม่เกิน 5 เท่าของรายได้ สำหรับการขอสินเชื่อบ้านนั้น การหาผู้กู้ร่วมก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ทำให้มีโอกาสได้รับอนุมัติสินเชื่อมากขึ้น ซึ่งส่วนมากจะใช้พี่น้องหรือคู่สมรสในการยื่นกู้ร่วม เพราะเมื่อธนาคารหรือสถาบันการเงินพิจารณาก็จะนำรายได้ของผู้กู้ร่วมมาคิดด้วย รวมกับผู้กู้หลัก โอกาสได้รับอนุมัติจึงมากขึ้นและบางครั้งวงเงินที่ได้รับก็มากขึ้นด้วยค่ะ สำหรับการขอสินเชื่อรถยนต์นั้น อาจต้องใช้คนค้ำประกันหรือไม่ต้องใช้ก็ได้ ทางสถาบันการเงินจะมองที่เครดิตของผู้ยื่นขอกู้ว่าดำเนินการชำระหนี้ที่ผ่านมาดีมากแค่ไหน กำลังในการผ่อนจ่ายสินเชื่อทำได้ดีรึเปล่า เท่าที่เห็นได้ทั่วไปคือมีคนค้ำประกันหนึ่งคน หรือยื่นเองด้วยตัวคนเดียวก็ผ่านเกณฑ์ได้เช่นกันค่ะ […]