ที่ดินถือเป็นทรัพย์สินที่มีค่าที่นับวันก็ยิ่งจะหามาได้ยากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันที่ดินก็เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนาสาธารณูปโภคและการเกษตรกรรมของประเทศเพื่อเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมเหมือนกัน เมื่อเป็นเช่นนี้ การถูกเวนคืนที่ดิน จึงเป็นเรื่องที่ตามมา ถูกเวนคืนที่ดิน เมื่อต้องถูกเวนคืนที่ดิน และไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ดีที่สุดคือ ทำความเข้าใจเพื่อทราบถึงระเบียบปฏิบัติหรือข้อกฏหมาย เพื่อรักษาผลประโยชน์สูงสุดของเรา แม้จะได้รับค่าตอบแทนแต่คงไม่ใช่เรื่องน่ายินดีสำหรับเจ้าของที่ดินเจ้าของทรัพย์สิน แต่ เมื่อถูกเวนคืนที่ดินสิ่งที่เจ้าของที่ดินควรรู้และปฏิบัติ ดังนี้ ขั้นตอนการเวนคืนที่ดิน (พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๖๒) 1.เมื่อรัฐจำเป็นต้องได้ที่ดินที่จำเป็นในกิจการสาธารณูปโภค การป้องกันประเทศ การได้มาซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่น ต้องทำการสำรวจเพื่อทราบเกี่ยวกับที่ดินที่ต้องได้มาให้ชัดเจน 2.จากนั้นตราพระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน หรือที่เรียกว่า “พรฏ.เวนคืน” 3.หน่วยงานที่รับผิดชอบการเวนคืน แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อกำหนดราคาอสังหาริมทรัพย์เบื้องต้นและเงินค่าทดแทน 4.เจ้าหน้าที่เข้าดำเนินการสำรวจประเมินอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งการจะเข้าสำรวจต้องแจ้งเจ้าของก่อน 15 วัน เพื่อกำหนดราคาและค่าทดแทน 5.ทำการประกาศราคาค่าทดแทนพื้นที่ที่ถูกเวนคืน ซึ่งหากหน่วยงานประกาศแล้วจะ “ไม่สามารถเปลี่ยนใจปรับลดจำนวนเงินค่าทดแทนได้ในภายหลัง” 6.ออกหนังสือแจ้งเจ้าของที่ดินให้มาติดต่อทำสัญญาซื้อขาย ถ้ายังไม่ตกลงทำสัญญาจะดำเนินการจ่ายเงินค่าทดแทนก่อน (รัฐ ต้องจ่ายเงินอย่างน้อยค่าทดแทนก่อน เจ้าหน้าที่จึงสามารถเข้าดำเนินการได้) ถ้าตกลงกันได้ ก็จะเข้าสู่กระบวนการรื้อถอน ขนย้าย และเจ้าหน้าที่เข้าดำเนินการในที่ดิน 7.เจ้าของที่ดิน มีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรี ภายใน 90 วันนับแต่วันที่ได้รับเงินจากเจ้าหน้าที่หรือรับเงินที่วางไว้ ซึ่งการวินิจฉัยจะต้องเสร็จสิ้น ภายใน 30 […]