ในปี พ.ศ. 2564 ประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aged Society) และจะกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอดในปี 2574 ทำให้ หลายๆ องค์กรในประเทศไทยล้วนใส่ใจและให้ความสำคัญกับ ผู้สูงอายุ มากยิ่งขึ้น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุ โดยสนับสนุนเรื่องการพัฒนาระบบเพื่อรองรับสังคมสูงวัย และการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ครอบคลุมทั้งมิติด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคม เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีคุณค่า มีศักดิ์ศรี ลดภาระการดูแลของครอบครัว และเป็นพลังของสังคม ส่วนหนึ่งของการใส่ใจคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุคือ เรื่องการออกแบบบ้านเพื่อคนในสังคมหรือเรียกว่า Universal Design
7 หลักการของ Universal Design
บ้านสำหรับผู้สูงอายุ ควรจะมีการออกแบบให้ ผู้สูงอายุ อยู่อาศัยแล้วปลอดภัย สะดวกสบาย และไม่ต้องออกแรงมาก การลดอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ หรือการที่ผู้สูงอายุสามารถช่วยเหลือตัวเองได้อย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องพึ่งพาลูกหลานตลอดเวลา เริ่มตั้งแต่ทางเข้าบ้าน ไปจนถึง ห้องนอน
ทางเข้าบ้าน สำหรับผู้สูงอายุที่ใช้รถเข็นควรมีทางลาดให้ขึ้น-ลงได้สะดวก อัตราส่วนของทางลาดอย่างน้อยไม่เกิน 1:12 คือ ถ้าพื้นสูง 1 เมตร ทางลาดต้องยาว 12 เมตร และควรติดตั้งราวจับที่มีความสูงประมาณ 80-90 เซนติเมตร
ประตู-หน้าต่าง ประตูควรมีความกว้างไม่น้อยกว่า 90 เซนติเมตร ไม่ควรมีธรณีประตู เพื่อป้องกันการสะดุดล้ม และต้องมีระยะของมือจับสูงจากพื้น 100 เซนติเมตรหน้าต่างควรสูงจากพื้น 50 เซนติเมตร เพื่อให้ผู้สูงอายุที่นั่งรถเข็นสามารถมองเห็นวิวภายนอกได้
ห้องนั่งเล่น ควรเลือกใช้กระเบื้องที่มีผิวสัมผัสไม่ลื่นในส่วนใช้สอยที่ต่างกันควรใช้สีสันตัดกัน เช่น พื้น ผนัง รวมถึงบัวเชิงผนัง เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน การจัดวางเฟอร์นิเจอร์ควรอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมและเป็นระเบียบ ภายใต้บรรยากาศที่ผ่อนคลาย
ห้องครัว ตำแหน่งของห้องครัวควรเข้าถึงได้อย่างสะดวกสบายระดับโต๊ะและเคาน์เตอร์ควรสูงจากพื้น 80 เซนติเมตรเพื่อให้ผู้สูงอายุที่ใช้รถเข็นใช้งานได้อย่างสะดวกควรจัดวางเครื่องใช้ภายในห้องครัวโต๊ะอาหาร เตา และตู้เย็น ให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม อ่างล้างจาน ใช้อ่างแบบตื้นและเดินท่อใต้อ่างให้แนบกับผนังด้านหลัง ก๊อกน้ำ ใช้แบบก้านโยก หรือมีระบบปิด-เปิด ด้วยก้านบิด
ห้องน้ำ เพื่อให้สามารถใช้รถเข็นได้อย่างสะดวกควรเลือกสุขภัณฑ์ที่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ อาทิ อ่างล้างหน้ารูปแบบที่มีส่วนโค้งเว้า เพื่อให้ผู้ใช้รถเข็นสามารถสอดขาเข้าไปได้ควรมีความกว้างไม่น้อยกว่า 150-200 เซนติเมตร
ก๊อกน้ำ เลือกแบบปัดไปด้านข้าง จะได้ไม่ต้องออกแรงในการเปิด – ปิด
กระจกในห้องน้ำ ควรใช้แบบปรับมุมซึ่งจะทำให้ผู้สูงอายุมองเห็นช่วงล่างโดยไม่ต้องยืน
โถสุขภัณฑ์ ควรมีความสูงใกล้เคียงกับรถเข็น พร้อมติดตั้งราวจับและเก้าอี้นั่งสำหรับอาบน้ำ สิ่งขาดไม่ได้เลย คือ “สัญญาณฉุกเฉิน” เพื่อให้คนภายนอกสามารถรับรู้ถึงความผิดปกติและเข้ามาช่วยเหลือได้ทันที
ห้องนอน เรียกได้ว่าเป็นห้องที่ผูเ้สูงอายุจะใช้ชีวิตอยู่ห้องนี้มากที่สุด ควรเป็นห้องที่อยู่ใกล้กับห้องน้ำมากที่สุดโดย
ตู้เสื้อผ้า เลือกใช้แบบบานเลื่อน เพื่อให้ง่ายสำหรับการใช้งานของผู้สูงอายุ
เตียง ความสูงพอดีกับล้อรถเข็น หรือสูงประมาณ 40 ซม. ยาวไม่น้อยกว่า 180 ซม. ใต้เตียงควรเปิดว่างไว้สำหรับใส่อุปกรณ์ช่วยเหลือที่จำเป็น เช่น ยาประจำตัว
ฟูก ที่นอนลมแบบลอน เหมาะสำหรบผู้สูงอายุที่เดินไม่ไหว เช่น อัมพาต อัมพฤกษ์ รวมถึงผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด ป้องกันแผลกดทับ ที่นอนประเภทผสม เช่น ที่นอนใยมะพร้าวผสมยางพารา จะมีความยืดหยุ่นสูง นุ่มและคงทน ที่นอนลมแบบBubble เหมาะสำหรับผู้สูงอายุที่เป็น ผู้ป่วยติดเตียง หรือแผลกดทับ จะช่วยลดการเสียดสีระหว่างที่นอนกับผิวของผู้ป่วย
ไฟ สว่างพอเพียง เลือกหลอดไฟแบบคอมแพกต์ ฟลูออเรสเซนต์ชนิดที่ให้แสงเหลืองอ่อน ช่วยทำให้ห้องอบอุ่น / สะดวกแค่เอื้อม ควรเอื้อมถึงได้จากที่นอน / แสงนวลตา ทำให้ผ่อนคลาย และบริเวณหัวเตียงควรติดตั้งสัญญาณฉุกเฉินเช่นเดียวกับในห้องน้ำ การออกแบบบ้านให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุก็นับเป็นเรื่องสำคัญ เเต่การออกแบบบ้านให้ตอบโจทย์ความต้องการอย่างเดียวมันไม่พอ ผู้รับเหมาที่มาดูแลก็สำคัญด้วย บิลด์แมน (buildman) เรามีผู้รับเหมาที่มีความชำนาญ เชื่อถือได้ ให้บริการดูแลเกี่ยวกับการสร้างบ้านครบวงจร พร้อมเป็นที่ปรึกษาให้ ไว้ใจให้บิลด์แมน ดูแลเรื่องการสร้างบ้าน สามารถสมัครสมาชิกได้ที่ https://buildman.biz/ConfirmRegister
ตลาดกลางรับเหมาก่อสร้าง ที่จบครบในที่เดียว “ผู้รับเหมา ผู้ออกแบบ วัสดุก่อสร้าง” พร้อมเป็นคนกลางช่วยบริหารสัญญาก่อสร้าง ฟรี!
สามารถอ่านบทความอื่นได้ที่ https://buildman.biz