Hire an architect to write a house design Who is the copyright of?

จ้าง ออกแบบบ้าน ลิขสิทธิ์ตกเป็นของใคร?

Hire an architect to write a house design Who is the copyright of?

จ้างออกแบบบ้าน ลิขสิทธิ์ตกเป็นของใคร?

เรื่องของ แบบบ้าน บางครั้งก็กลายเป็นประเด็นถกเถียงกันระหว่าง สถาปนิกผู้ออกแบบบ้าน VS เจ้าของบ้าน ถึงสิทธิความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ที่แท้จริงว่าเป็นของใคร

มองในมุมของผู้ว่าจ้าง ในเมื่อว่าจ้างมาแล้ว จ่ายเงินให้แล้ว ลิขสิทธิ์ย่อมเป็นของเจ้าของบ้านซึ่งเป็นผู้ว่าจ้าง ที่จะสามารถจะนำแบบบ้านไปทำอะไร หรือจะเอาไปแบ่งปันแจกจ่ายใครก็ได้

มองมุมสถาปนิกผู้ออกแบบ
อาจไม่ได้คิดเช่นนั้น เพราะบ้านที่เจ้าของบ้านว่าจ้างให้ออกแบบ ออกแบบให้กับผู้ว่าจ้างก็จริง แต่ก็ออกแบบเพื่อใช้สร้างบ้านหลังนั้นเพียงหลังเดียว เจ้าของบ้านไม่มีสิทธิ์ที่จะนำแบบชุดนี้ไปแจกจ่ายหรือใช้สร้างในที่อื่น ๆ

ก่อนอื่นเราควรเข้ามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ งานลิขสิทธิ์หรืองานใด ๆ ที่มีผลต่อกฎหมาย จำเป็นต้องเปิดอ่าน พรบ.ต่าง ๆ ที่กฎหมายได้ว่าไว้ สำหรับงานลิขสิทธิ์สถาปัตยกรรม บทกฎหมายจะเป็นไปตาม พระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๒๑ ผู้เขียนขอหยิบยกบทสรุปมาบางวรรคตอน เพื่อให้เข้าใจกันง่ายยิ่งขึ้นค่ะ

มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้

“ผู้สร้างสรรค์”
หมายความว่า ผู้ทำหรือก่อให้เกิดงาน โดยความคิดริเริ่มของตนเอง

“ลิขสิทธิ์”
  หมายความว่า สิทธิแต่ผู้เดียวที่จะกระทำใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น
(๔) งานสถาปัตยกรรม ได้แก่ งานออกแบบอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง งานออกแบบตกแต่งภายใน หรือภายนอก ตลอดจนบริเวณของอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง หรือการสร้างสรรค์หุ่นจำลองของอาคาร หรือสิ่งปลูกสร้า

“งานแพร่เสียงแพร่ภาพ”
หมายความว่า งานที่นำออกสู่สาธารณชนโดยการแพร่เสียงทางวิทยุกระจายเสียง การแพร่เสียงและหรือภาพทางวิทยุโทรทัศน์ หรือโดยวิธีอย่างอื่นอันคล้ายคลึงกัน

“ทำซ้ำ”
หมายความรวมถึง คัดลอกไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ เลียนแบบ ทำสำเนา ทำแม่พิมพ์ บันทึก เสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกเสียงและภาพจากต้นฉบับ จากสำเนา หรือจากการโฆษณาในส่วนอันเป็น สาระสำคัญ ทั้งนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน

“ดัดแปลง”
หมายความว่า ทำซ้ำโดยเปลี่ยนรูปใหม่ ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมหรือจำลองงานต้นฉบับ ในส่วนอันเป็นสาระสำคัญโดยไม่มีลักษณะเป็นการจัดทำงานขึ้นใหม่ ทั้งนี้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน

มาตรา ๘
งานที่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ขึ้นโดยการรับจ้างบุคคลอื่น ให้ผู้ว่าจ้างเป็นผู้มีลิขสิทธิ์ ในงานนั้น เว้นแต่ผู้สร้างสรรค์และผู้ว่าจ้างจะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น

มาตรา ๑๒ กระทรวง
ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่นย่อมมีลิขสิทธิ์ในงาน ที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นโดยการจ้างหรือตามคำสั่งหรือในความควบคุมของตน เว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้เป็น อย่างอื่น
ก่อนจะพิจารณาว่า ลิขสิทธิ์นี้เป็นของใคร อาจต้องใช้วิธีดูตามสัญญาว่าจ้างกันตั้งแต่ต้น เพราะสัญญาว่าจ้างจะเป็นข้อตกลงร่วมกันที่เจ้าของบ้านและผู้ออกแบบร่วมกันทำ โดยปกติสัญญาที่เป็นธรรม ควรคุ้มครองทั้ง 2 ฝ่าย นั่นหมายถึง คุ้มครองเจ้าของบ้านและสถาปนิกผู้ออกแบบ

เรื่องข้อกฎหมาย
บางทีอาจเป็นอะไรที่ยุ่งยากสำหรับบางคน ที่จะต้องมานั่งทำความเข้าใจในแต่ละมาตรา
วิธีการง่ายที่สุดคือ ให้ผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้าง ร่วมกันทำข้อตกลงต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นสัญญาว่าจ้าง เนื่องด้วยในมาตรา 8 ได้ระบุไว้ว่า “งานที่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ขึ้นโดยการรับจ้างบุคคลอื่น ให้ผู้ว่าจ้างเป็นผู้มีลิขสิทธิ์ ในงานนั้น เว้นแต่ผู้สร้างสรรค์และผู้ว่าจ้างจะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น” ในมาตรา 8 นี้จะเห็นได้ว่า กฎหมายให้สิทธิ์ผู้ว่าจ้างเป็นผู้มีลิขสิทธิ์ แต่การว่าจ้างนั้น อาจต้องพิจารณาตามรูปแบบหรือลักษณะงานนั้น ๆ กฎหมายจึงระบุเพิ่มไว้ว่า “เว้นแต่ผู้สร้างสรรค์และผู้ว่าจ้างจะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น”

ลิขสิทธิ์ อาจจะไม่ได้เป็นของผู้ว่าจ้างแต่เพียงผู้เดียว
โดยปกติการออกแบบบ้าน ไม่ว่า่จะเป็น แบบ บ้าน หรูหรา บ้าน หรู สไตล์ โม เดิ ร์ น หรือ บ้าน สร้าง เอง ที่ใช้อยู่อาศัยทั่วไป เจ้าของบ้านจะว่าจ้างให้ออกแบบเพื่อสร้างเพียงหลังเดียว ลักษณะนี้จะไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ แต่การทำสัญญาก็เพื่อป้องกันไม่ให้นำแบบบ้านไปแจกจ่ายหรือใช้ร่วมกับธุรกิจอื่น อาจส่งผลให้ผู้รับจ้างเสียสิทธิประโยชน์ เช่น การนำแบบบ้านที่ออกแบบหลังนึง แต่นำเอาไปใช้ในโครงการบ้านจัดสรร ซึ่งนำไปสร้างบ้านหลายหลัง ทำให้ทางสถาปนิกหรือผู้ออกแบบเสียผลประโยชน์ที่จะพึงได้ ซึ่งโดยปกติการว่าจ้างในรูปแบบโครงการจัดสรร ผู้รับจ้างจะคิดคำนวณค่าใช้จ่ายแตกต่างไปจากการว่าจ้างให้ออกแบบบ้านเพื่อสร้างหลังเดียว ซึ่งโดยปกติผู้ออกแบบจะคำนวณเพิ่มตามจำนวนยูนิตที่ก่อสร้างเพิ่ม ประมาณ 25-35% ของมูลค่างานออกแบบหลังแรก
จะเห็นได้ว่าแม้ สถาปนิกจะเป็นผู้สร้างสรรค์ผลงาน และ ผู้ว่าจ้างจะเป็นคนจ่ายเงิน แต่เพื่อป้องกันสิทธิ์ให้ทั้งสองฝ่าย

ในข้อตกลงที่ควรมีร่วมกัน สถาปนิกไม่สามารถนำแบบไปจำหน่ายขายต่อได้ เช่นเดียวกันกับผู้ว่าจ้าง ที่ไม่ควรนำแบบไปแจกจ่าย หรือนำไปเพื่อหาผลประโยชน์ที่ผิดต่อสัญญาที่วางไว้รวมกัน ยกเว้นแต่จะมีการตกลงกัน

บิลด์แมน เรามีผู้รับเหมาที่มีแบบบ้านสวยๆ พร้อมสร้าง และมีผู้ออกแบบที่มีความชำนาญในการออกแบบ พร้อมให้คำปรึกษา ให้ buildman เป็นที่ปรึกษาเรื่อง การสร้างบ้าน
เพียงเข้ามาลงทะเบียนเป็นสมาชิกกับบิลด์แมน ฟรี ที่ https://buildman.biz/ConfirmRegister

ตลาดกลางรับเหมาก่อสร้าง ที่จบครบในที่เดียว “ผู้รับเหมา ผู้ออกแบบ วัสดุก่อสร้าง” พร้อมเป็นคนกลางช่วยบริหารสัญญาก่อสร้าง ฟรี!

อ่านบทความอื่นได้ที่   https://blog.buildman.biz

Posted in สาระความรู้เรื่องบ้าน and tagged , , , , , , , , , .

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *