10 ways to save electricity Using an air conditioner in hot summer

10 วิธีประหยัดไฟการใช้ เครื่องปรับอากาศ ในหน้าร้อน

10 ways to save electricity Using an air conditioner in hot summer

10 วิธีประหยัดไฟ การใช้เครื่องปรับอากาศในหน้าร้อน

เหงื่อแตกเหงื่อแตนทุกครั้งที่เมืองไทยเราย่างเข้าสู่หน้าร้อน และยิ่งร้อนระอุเข้าไปโดยเฉพาะตอนบิลค่าไฟมาตอนสิ้นเดือน เพราะค่าไฟแพงหูฉี่แน่นอน แต่ถ้าไม่เปิดแอร์เย็นๆในช่วงนี้ต่อให้เป็น บ้าน หรู สไตล์ โม เดิ ร์ น หรือ สร้าง บ้าน ด้วย ตัว เอง ก็อาจทนความร้อนระอุไม่ได้ ขอแนะนำเคล็ดวิธีลดใช้เครื่องปรับอากาศในหน้าร้อน แต่อากาศภายในบ้านยังเย็นสบาย แถมยังช่วยประหยัดพลังงาน ประหยัดไฟ และช่วยประหยัดเงินในกระเป๋ามาฝากกัน

1. เปิดพัดลมควบคู่ไปด้วย การเปิดพัดลมควบคู่ไปกับการเปิดแอร์นั้นสิ้นเปลืองน้อยกว่าการเปิดแอร์อย่างเดียวนะรู้หรือเปล่า ? โดยการเพิ่มอุณหภูมิแอร์ไปที่ 27-28 องศา แล้วเปิดพัดลมควบคู่ไปด้วย พัดลมก็จะช่วยลดอุณหภูมิลงมาได้อีก 2-3 องศา คราวนี้อากาศในบ้านก็จะเย็นสบายกำลังดีแบบไม่เปลืองไฟ

2. ปิดไฟแล้วเปิดม่านแทน
นอกจากแสงแดดที่ทำให้เกิดความร้อนในบ้านแล้ว แสงไฟจากหลอดไฟก็มีส่วนที่ทำให้บ้านร้อนเหมือนกัน อีกทั้งยังทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนักขึ้นด้วย ฉะนั้นในตอนกลางวันแนะนำให้หลีกเลี่ยงการเปิดไฟ แล้วเปลี่ยนไปเปิดหน้าต่างหรือเปิดแค่ผ้าม่านแทน เพื่อให้บ้านสว่างขึ้นแต่ร้อนน้อยลง

3. เพิ่มอุณหภูมิแอร์ตอนกลางคืน
เพราะในตอนกลางคืนเป็นช่วงที่ไม่มีแสงแดด ฉะนั้นอากาศก็ร้อนน้อยลงกว่าช่วงกลางวันระดับหนึ่ง การปรับอุณหภูมิแอร์เพิ่มขึ้น 1 องศาในช่วงที่คุณนอนหลับหรือก่อนเข้านอนสัก 1-2 ชั่วโมง ก็จะช่วยประหยัดค่าไฟได้ถึง 10% เลยทีเดียว

4. ควบคุมชั่วโมงแอร์
ในวันที่อากาศร้อนอบอ้าวเสียขนาดนี้ ปิดแอร์แป๊บเดียวก็กลับมาร้อนเหมือนเดิมแน่ ๆ ดังนั้นคงเป็นไปได้ยากถ้าหากจะให้ควบคุมชั่วโมงเปิดแอร์ตอนกลางวัน ฉะนั้นหากอยากประหยัดค่าไฟแนะนำให้ใช้วิธีนี้ในตอนกลางคืน โดยตั้งเวลาปิดแอร์ช่วงตี 2 หรือตี 3 ส่วนก่อนนอนให้เปิดพัดลมทิ้งไว้ด้วย จะได้ไม่ตื่นกลางดึกเพราะต้องลุกขึ้นมาปิดแอร์

5. เปิดพัดลมก่อนเปิดแอร์
หากกลับถึงบ้านแล้วเปิดแอร์เลย ในขณะที่ปนังยังร้อนอยู่ก็ทำให้เครื่องปรับอากาศกินไฟเพราะทำงานหนักขึ้น ฉะนั้นก่อนจะเปิดแอร์ควรเปิดพัดลมไล่ลมร้อนออกไปก่อนสักพัก แล้วค่อยเปิดแอร์ตามทีหลัง

6. ใช้เครื่องปรับอากาศเคลื่อนที่
เครื่องปรับอากาศเคลื่อนที่จะทำความเย็นเฉพาะจุดหรือพื้นที่ที่ต้องการ ซึ่งจะต่างจากแอร์ตัวใหญ่ที่มีระบบการทำงานแบบกระจายความเย็นทั้งห้อง ทั้งยังใช้ไฟน้อยกว่าแอร์ถึง 50% เลยนะจะบอกให้

7. ไม่นำความชื้นเข้าห้อง
แอร์ใช้พลังงานในการทำความเย็น 30% และอีก 70% เป็นพลังงานสำหรับจำกัดความชื้น ทำให้อากาศในห้องแห้ง ฉะนั้นควรเลี่ยงนำสิ่งของที่มีความชื้นเข้าห้อง เช่น ต้นไม้ หรือผ้าเปียก เป็นต้น

8. ไม่นำของร้อนเข้าห้อง
อุปกรณ์หรือเครื่องครัวต่าง ๆ ที่ทำความร้อน เช่น กระทะไฟฟ้า หม้อต้มสุกี้ ไม่ควรนำมาประกอบอาหารในห้องแอร์ เพราะความร้อนในห้องนั้น ๆ จะสูงขึ้นและทำให้แอร์ทำงานหนักขึ้น ฉะนั้นจึงควรประกอบอาหารให้เสร็จในครัวหรือพื้นที่อื่น ๆ ที่ไม่ได้เปิดแอร์ดีกว่า

9. ปิดประตูและหน้าต่างให้สนิท
ก่อนจะเปิดแอร์ควรปิดประตูและหน้าต่างในห้องให้สนิท แต่ถ้ามั่นใจว่าปิดดีแล้ว แต่ยังรู้สึกสงสัยว่าทำไมค่าไฟยังแพงอยู่ นั่นอาจเป็นเพราะว่ามีจุดรั่วไหลของแอร์ตามช่องใต้ประตูหรือซอกหน้าต่าง ฉะนั้นควรรีบสำรวจแล้วจัดการปิดรอยรั่วเหล่านั้นซะให้เรียบร้อย

10. ล้างแอร์
เมื่อผ่านการใช้งานไปนาน ๆ แม้จะลดอุณหภูมิแอร์แล้วแต่ก็ยังไม่รู้สึกเย็น เหตุก็เพราะฝุ่นละอองและสิ่งสกปรกที่เข้าไปในแอร์ก็สะสมมมากขึ้นเรื่อย ๆ จนในที่สุดแอร์ก็จะทำงานหนักขึ้น เป็นเหตุให้กินไฟมากขึ้นไปด้วย ฉะนั้นอย่าลืมล้างแอร์กันเป็นประจำด้วยค่ะ
การเปิดแอร์ในช่วงหน้าร้อนทำให้ค่าไฟยิ่งพุ่งกระฉูด แต่ถ้าไม่เปิดก็คงจะอยู่บ้านไม่ได้ เทคนิคการประหยัดไฟเมื่อต้อใช้แอร์ที่ได้กล่าวไปข้างต้น อาจเป็นประโยชน์ช่วยทำให้ค่าไฟในช่วงหน้าร้อนของใครหลายคน ไม่สูงเกินจนน่าตกใจ เช่นเดียวกันกับการ สร้างบ้าน การที่มีตัวกลางช่วยดูแลแบบ บิลด์แมน

(buildman) จะช่วยให้ทั้งผู้รับเหมาที่กำลังต้องการงานได้มีงาน และผู้ที่อยากจะสร้างบ้าน มีที่ปรึกษาและคอยดูแลบริหารสัญญาให้ บิลด์แมน เรามีผู้รับเหมาที่มีแบบบ้านสวยๆ พร้อมสร้าง พร้อมให้คำปรึกษา ให้ buildman เป็นที่ปรึกษาเรื่อง การสร้างบ้าน เพียงเข้ามาลงทะเบียนเป็นสมาชิกกับบิลด์แมน ฟรี ที่ https://register.buildman.biz/

ตลาดกลางรับเหมาก่อสร้าง ที่จบครบในที่เดียว “ผู้รับเหมา ผู้ออกแบบ วัสดุก่อสร้าง” พร้อมเป็นคนกลางช่วยบริหารสัญญาก่อสร้าง ฟรี!

อ่านบทความอื่นได้ที่  https://blog.buildman.biz

Posted in สาระความรู้เรื่องบ้าน and tagged , , , , , , .

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *