10 ข้อควรทำ ในขั้นตอนการก่ออิฐ ฉาบปูน

ผนังบ้าน หากก่อและฉาบปูนด้วยขั้นตอนที่ถูกต้องตามหลักการ ย่อมมีความแข็งแรงและไม่เกิดรอยแตกร้าวเพราะร่องรอยเหล่านี้เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ลดความสวยงามลงและอาจทำให้เกิดการทรุดตัวและพังทลายได้ ผนังบ้านที่แข็งแรงจะส่งผลต่อการแต่งเติมบ้านให้บ้านดูสวยงามขึ้นได้
 
การตกแต่งด้วยวิธีการทาสี ติดวอลเปเปอร์ หรือจะขัดมันให้ดูเท่ ก็สามารถเลือกได้ตามสไตล์ที่เจ้าของบ้านต้องการ
 
ขั้นตอนที่จะกล่าวดังต่อไปนี้คือการก่อผนังและฉาบปูนที่ถูกต้อง
 
1. ควรนำอิฐแช่น้ำก่อนก่อ 1 ชั่วโมง : พื้นฐานในการก่ออิฐ ลำดับแรกคือการทำให้อิฐอิ่มน้ำก่อนโดยการแช่น้ำหรือรดน้ำและตั้งไว้จนหมาดเพราะอิฐที่ผ่านการเผาจะมีความแห้งมาก ทั้งนี้ยังช่วยทำความสะอาดผิวอิฐเพื่อให้เชื่อมประสานกับปูนได้ดียิ่งขึ้น อิฐที่หมาดจะไม่ดูดน้ำจากปูนก่อมากนัก ทำให้ปูนก่อไม่ขาดน้ำและปูนไม่แห้งเร็วจนเกินไป ปูนที่ได้จะไม่แห้งร่วนและได้ผนังที่แข็งแรง
 
2. ก่ออิฐสลับแนว : เชื่อว่าข้อนี้คุณผู้อ่านน่าจะทราบกันดีอยู่แล้วว่า วิธีการนี้ช่วยลดความร้อนจากภายนอกเข้าสู่ภายในบ้านได้เป็นอย่างดี นั่นก็คือการก่ออิฐนั้นควรก่อสลับแนว การก่อหนาสองแถวนั้นช่วยลดความร้อนจากภายนอกบ้านได้ดี กรณีก่ออิฐหนาสองแถวจะเหมาะกับผนังที่โดนแสงแดดมาก เพราะใช้ในการกันความร้อนได้ดี
 
3. ปูนก่อควรหนาไม่เกิน 1.5 เซนติเมตร : การก่อผนังทั้งอิฐมอญและอิฐบล็อค ชั้นปูนก่อที่หนาเกินไปส่งผลให้ เมื่อปูนก่อแห้ง จะเกิดการโน้มเอียงของตัวปูนตามมาด้วยการทรุดตัว อีกทั้งยังสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ ดังนั้นจึงก่อปูนแค่เพืยง 1.5เซนติเมตร ยกเว้นอิฐมวลเบา ในส่วนกรณีของอิฐมวลเบาจะใช้ปูนกาวโดยเฉพาะ ซึ่งจะก่อบางเพียง 2-3 มิลลิเมตร
 
4. ต้องมีเสาเอ็นและคานทับหลัง : เสาเอ็นและคานทับหลังควรมีทุกๆระยะความสูงที่ 1.5 เมตร และความกว้างที่ 2.5 เมตร ความกว้างของเสาเอ็นและคานหลังก็เป็นสิ่งสำคัญ ควรมีความกว้างไม่น้อยไปกว่า 15 เซนติเมตรหรือหนาเท่ากันกับผนังที่ก่อ พร้อมทั้งเสริมเหล็กโครงสร้างภายในก่อนการหล่อเพื่อความแข็งแรง ซึ่งจะช่วยในการกระจ่ายน้ำหนักของอิฐก่อผนังไม่ให้พังลงมา
 
5. ต้องมีเสาเอ็นที่มุมกำแพง : เสาเอ็นทำหน้าที่เป็นโครงให้ผนังยึด การก่ออิฐเป็นมุมต้องมีเสาเอ็นเสมอเพื่อให้อิฐก่อได้มีจุดยึดทำให้ความแข็งแรงของโครงสร้างเพิ่มขี้นในระยะยาว
 
6. ต้องมีเสาเอ็นที่วงกบประตูและหน้าต่าง : เนื่องด้วยลักษณะของประตูและหน้าต่างมีการขยับและใช้งานเปิดปิดตลอดเวลา ควรมีเสาเอ็นและคานทับหลังล้อมเป็นกรอบไว้ เสาเอ็นและคานทับหลังจะช่วยกระจายแรงกระทำต่อผนังอิฐ ส่วนที่จะช่วยลดปัญหาการแตกร้าวบริเวณมุมวงกบได้นั้น ควรติดลวดตะแกรงกรงไก่ที่มุมวงกบเพื่อช่วยกระจายแรงให้กับชั้นปูนฉาบ
 
7. เสียบเหล็กหนวดกุ้งทุกระยะ : เพื่อไม่ให้ผนังอิฐหลุดออกมาจากแนวเสาหรือล้มลงมา การเพิ่มความแข็งแรงทำได้โดยการเพิ่มตัวช่วยยึดระหว่างอิฐกับเสา โดยการเสียบเหล็กเสียบไปในเสาคอนกรีต ให้มีความยาว มีส่วนที่ยื่นออกมาไม่น้อยกว่า 40 เซนติเมตรและเหล็กมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 มิลลิเมตร
 
8. รดน้ำอิฐก่อนการฉาบ : เพื่อป้องกันไม่ให้อิฐแย่งน้ำจากปูนฉาบ เพื่อที่ไมส่งผลให้เกิดรอยแตกร้าวต้องให้ปูนก่อเซ็ทตัวก่อน 1 วัน ก่อนทำการฉาบ ควรรดน้ำให้ชุ่มทิ้งไว้ และรดน้ำซ้ำอีกครั้งในเช้าวันที่ฉาบ
 
9. ใช้เครื่องผสมปูนดีกว่า : โดยปกติการผสมปูนเพื่องานฉาบ เพื่อให้ปูนซีเมนต์มีประสิทธิภาพสูงควรใช้เครื่องผสมปูนหรือสว่านไฟฟ้าติดใบกวนทำให้เนื้อปูนผสมเข้ากันได้ดีกว่าการผสมมือและจอบ
 
10. รดน้ำหลังฉาบ 3-7 วัน : การรดน้ำช่วยให้ปูนก่อพัฒนาความแข็งแรงอย่างสมบูรณ์ ป้องกันผนังแตกร้าวได้เป็นอย่างดี ดังนั้นควรบ่มผนังด้วยการรดน้ำอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 3-7 วัน
 
สำหรับคนที่กำลังมีแผนการจะ สร้าง บ้าน เอง หรือ รีโนเวท ต่อเติมห้องหรือ สร้างบ้านใหม่ เรื่องขั้นตอนสิ่งที่ควรทำขั้นตอนการก่อิฐ ฉาบปูน จะเป็นประโยชน์ให้กับบ้านของท่านแน่นอน แต่ถ้าหากต้องการหาผู้รับเหมาที่มีความเชี่ยวชาญ

บิลด์แมน มีผู้รับเหมามืออาชีพ ที่พร้อมให้คำปรึกษา เกี่ยวกับการสร้างบ้านแบบครบวงจร ไว้วางใจให้บิลด์แมนดูแลสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมเป็นสมาชิกได้ที่ 
https://buildman.biz
 
ตลาดกลางรับเหมาก่อสร้าง ที่จบครบในที่เดียว “ผู้รับเหมา ผู้ออกแบบ วัสดุก่อสร้าง” พร้อมเป็นคนกลางช่วยบริหารสัญญาก่อสร้าง ฟรี!
 
สามารถอ่านบทความอื่นๆได้ที่   https:/blog.buildman.biz
Posted in งานช่างน่ารู้ and tagged , , , , , .

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *