
เรื่องที่ควรทราบ ก่อนคิดจะต่อเติม โรงรถ
การต่อเติมโรงรถ ในสภาพปัจจุบันการเดินทางสัญจรในตัวเมือง นิยมใช้รถยนต์เป็นยานพาหนะ โดยเฉพาะคนในเมืองใหญ่ แทบจะมี รถยนต์ ไว้ใช้งานกันแถบทุกบ้าน บ้านไหนมีพื้นที่บ้านไม่มาก ก็ต้องนำรถมาจอดไว้หน้าบ้าน โดยเฉพาะบ้านที่เป็นทาวน์เฮ้าส์ที่มีพื้นที่จำกัด แต่หากเป็นบ้านเดี่ยวที่มีพื้นที่ เช่น บ้าน หรู สไตล์ โม เดิ ร์ น หรือ แบบ คฤหาสน์ หรู หลังใหญ่ๆ ก็มีพื้นที่สำหรับจอดรถยนต์ได้หลายคัน และหากเป็นคนที่รักรถ ก็ไม่อยากจะให้รถของตัวเองต้องมาจอดตากแดด ตากฝน ตากน้ำค้าง ทำให้การสร้างโรงจอดรถมีความสำคัญขึ้น ทำให้มีบางบ้านมีการต่อเติมโรงรถ เพื่อให้รถคันโปรดได้มีที่จอดแบบเหมาะสม
1. Slab on Ground พื้นเดิมเป็นพื้นดิน ราคาไม่แพง สามารถเลือกเทพื้นคอนกรีตแบบ คือ การวางโครงสร้างพื้นลงบนดิน แต่จะรับน้ำหนักได้ไม่มาก พอใช้ไปนาน ๆ โอกาสที่พื้นจะทรุดตัวมีสูง
2. Slab on Beam คือ การลงเสาเข็มแบบปูพรมหรือฐานเข็มกลุ่ม โครงสร้างพื้นที่วางบนคาน แบบนี้ราคาจะสูงแต่จะช่วยชะลอการทรุดตัวได้มากกว่าพื้นเดิมเป็นคอนกรีต ควรเช็คโครงสร้างเดิมว่าสามารถรับน้ำหนักได้มากน้อยแค่ไหน หากไม่สามารถรับน้ำหนักที่จะต่อเติมได้ อย่าเสียดายเงินควรทุบพื้นใหม่แล้วลงเสาเข็ม จะช่วยชะลอการทรุดตัวของพื้นได้ ที่สำคัญเสาเข็มยิ่งลงลึกมากเท่าไหร่จะช่วยชะลอการทรุดตัวได้มากยิ่งขึ้น
ราคาค่าก่อสร้าง ราคาให้การก่อสร้างหรือต่อเติมโรงรถนั้น ขึ้นอยู่กับขนาดของพื้นที่ที่ต่อเติม วัสดุที่เลือกใช้ ซึ่งข้อแนะนำในการจะต่อเติมนั้นควรดูความเหมาะสมของจำนวนเงินที่มี ความจำเป็นในการใช้พื้นที่ รูปแบบที่จะทำการต่อเติม เช่น หากมีงบประมาณไม่มาก จากจะเป็นเพียงโครงสร้างหลังคายื่นออกมาจากโครงสร้างเดิมของบ้าน หรือใช้วัสดุที่ก่อสร้างได้ง่ายจำพวกเหล็กเพื่อประหยัดค่าแรง เป็นต้น
ปัญหาที่อาจพบ ปัญหาหลังคารั่วซึม อาจเกิดความไม่เรียบร้อยในการมุงหลังคาหรือบริเวณรอยต่อระหว่างหลังเดิมและโครงสร้างหลังคาใหม่ของโรงจอดรถ
1. การดัดแปลงขนาดพื้นบ้าน การลดหรือการขยายเนื้อที่ของพื้นชั้นหนึ่งชั้นใด ให้มีเนื้อที่น้อยลง หรือมากขึ้น รวมกันไม่เกิน 5 ตารางเมตร โดยไม่ลดหรือเพิ่มจำนวนเสาหรือคาน
2. การดัดแปลงหลังคาบ้าน การลดหรือการขยายเนื้อที่ของหลังคา ให้มีเนื้อที่มากขึ้นรวมกัน ไม่เกิน 5 ตารางเมตร โดยไม่ลดหรือเพิ่มจำนวนเสาหรือคาน ส่วนการต่อเติมที่มีขนาดพื้นที่ตั้งแต่ 5 ตารางเมตร จำเป็นต้องขออนุญาตจากทางราชการ
ตลาดกลางรับเหมาก่อสร้าง ที่จบครบในที่เดียว “ผู้รับเหมา ผู้ออกแบบ วัสดุก่อสร้าง” พร้อมเป็นคนกลางช่วยบริหารสัญญาก่อสร้างฟรี!
อ่านบทความอื่นได้ที่ https://blog.buildman.biz