เครื่องสั่นคอนกรีต (Concrete vibrator) สำคัญอย่างไรกับงานก่อสร้าง ?

เครื่องสั่นคอนกรีต (Concrete vibrator)  หรือที่ช่างส่วนใหญ่เรียกกันว่า : เครื่องวาย (ไวเบรชั่น) , เครื่องจี้ปูน , เครื่องจี้คอนกรีต

คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการอัดแน่นคอนกรีต หรือทำให้เนื้อคอนกรีตแน่นสม่ำเสมอ ด้วยวิธีการเขย่า  ( Vibration )  ซึ่งถ้าเราไม่มีการอัดแน่นคอนกรีต (ไม่ว่าจะด้วยวิธีการใดก็ตามแต่)

จะส่งผลให้เมื่อคอนกรีตแข็งตัวแล้วจะมีกำลังอัดต่ำ, มีความพรุนสูง, มีความทึบน้ำต่ำ, มีแรงยึดเหนียวกับเหล็กต่ำ และผิวคอนกรีตเมื่อถอดแบบออกแล้วไม่สวย

 

โดยวิธีการอัดแน่นคอนกรีตนั้นมีอยู่หลายวิธีดังนี้

    – การเขย่า ( Vibration )

     – การเหวี่ยงหนีศูนย์ ( Centrifugation )

     – การตำ ( Rodding ) และ

     – การกระทุ้ง ( Tamping )

วิธีการอัดแน่นคอนกรีตวิธีอื่นๆแอดมินของกล่าวถึงโดยละเอียดในโอกาสต่อไปค่ะ

ประโยชน์

 : อุปกรณ์ดังกล่าวหากใช้งานอย่างถูกต้อง จะช่วยให้งานเทคอนกรีตมีคุณภาพดี คอนกรีตที่มีเนื้อแน่นสม่ำเสมอ ไม่แยกตัว ไม่เป็นรูโพรง มีรอยแตกร้าวน้อย มีผิวเรียบสม่ำเสมอ

ที่สำคัญยังช่วยให้อายุการใช้งานของพื้นยาวนานขึ้นอีกด้วย เพิ่มการยึดเกาะยึดเหนี่ยวที่ดีระหว่างเนื้อคอนกรีตกับเหล็กที่ผูกไว้เป็นแบบหล่อ  หรือระหว่างเหล็กเส้นที่เสริม ระหว่างคอนกรีต

แต่ถ้าเราไม่มีการอัดแน่นคอนกรีต (ไม่ว่าจะด้วยวิธีการใดก็ตามแต่) จะส่งผลให้เมื่อคอนกรีตแข็งตัวแล้วจะมีกำลังอัดต่ำ, มีความพรุนสูง, มีความทึบน้ำต่ำ, มีแรงยึดเหนียวกับเหล็กต่ำ

และผิวคอนกรีตเมื่อถอดแบบออกแล้วไม่สวย

เครื่องจี้ปูนหรือเครื่องจี้คอนกรีตมี 3 ประเภท ดังนี้

 

เครื่องจี้ปูน เครื่องจี้คอนกรีต ใช้น้ำมัน (Concrete Vibrator) + โดยใช้คู่กับสายจี้คอนกรีต

: ใช้งานได้ในที่ที่ไม่มีไฟฟ้าและ เคลื่อนย้ายสะดวก เหมาะกับงานเช่น งานทำพื้นถนน

เครื่องจี้ปูน เครื่องจี้คอนกรีต ใช้ไฟฟ้า(Electric Concrete Vibrator)

:  เหมาะสำหรับที่ที่สามารถใช้ไฟฟ้าได้สะดวก เช่น ใช้กับงานโรงงานผลิตชิ้นส่วนคอนกรีต หรือ โครงสร้างคอนกรีตสำเร็จรูป

เครื่องจี้ปูน เครื่องจี้คอนกรีต มือถือสะพายบ่า (Electric Concrete Vibrator)

:  ใช้งานได้ในที่ที่ไม่มีไฟฟ้า ช่วยให้สะดวกในการใช้งานการเข้าถึงพื้นที่การทำงานแคบ หรือที่ยาก

มอเตอร์เกาะแบบสั่นคอนกรีต External Vibrator

:  เหมาะสำหรับ เกาะแบบชิ้นงานเช่น กะบะผสมปูน ถังเทปูน กรวยเทปูน ฯลฯ เพื่อทำให้เกิดการรวมตัวของเนื้อปูนเป็นเนื้อเดียวกัน

 

วิธีใช้งาน

  1. ตำแหน่งและระยะห่างในการจี้เขย่า

: ควรเว้นระยะห่างสั้นๆ ให้เพียงพอเพื่อให้คอนกรีตทุกบริเวณในแบบหล่อได้รับการอัดแน่น โดยไม่เว้นข้ามส่วนใดเลย ทั้งนี้ระยะห่างในการจุ่มหัวจี้ ขึ้นอยู่กับขนาดของหัวจี้

และรัศมีทำการด้วยเช่นกัน โดยจุ่มหัวจี้ในทุก ๆ ระยะ 45 – 60 ซม. หรือ ประมาณ 8 – 10 เท่าของขนาดหัวจี้ (1 1/2 เท่าของรัศมีการทำงานหัวจี้)

  1. ทิศทางในการจี้เขย่า

: ควรจุ่มหัวจี้ลงในแนวดิ่งจนสุดความลึกของชั้นที่จะเท กรณีมีการเทคอนกรีตมากกว่า 1 ชั้น ควรจี้ผ่านถึงชั้นล่างเพื่อให้เนื้อคอนกรีตทั้งสองชั้นเชื่อมเป็นเนื้อเดียวกัน

  1. ระยะเวลาการจุ่มหัวจี้

: สามารถสังเกตเวลาที่เหมาะสมได้จากเนื้อคอนกรีตในขณะจี้เขย่า เช่น ไม่มีฟองอากาศขนาดใหญ่ลอยขึ้นมาที่ผิวหน้าคอนกรีตแล้ว การจมลงของหินก้อนใหญ่

มีน้ำปูนขึ้นที่ผิวคอนกรีตเป็นแผ่นบางๆ

  1. การถอนหัวจี้ ควรถอนหัวจี้กลับขึ้นมาอย่างช้าๆ เพื่อให้ช่องเปิดที่เกิดจากการใช้หัวจี้ปิดตัวเองได้สนิทโดยไม่มีฟองอากาศขังอยู่



 

Posted in Uncategorized.

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *