เตรียมพร้อมก่อนจะสร้างบ้านใหม่ รับมือน้ำท่วม

ปฏิเสธไม่ได้ว่าสถานการณ์โลกในปัจจุบัน เราจะได้ยินข่าวอุทกภัยเกิดขึ้นได้ทั่วโลก แม้แต่เมืองที่เราไม่ค่อยได้ยินว่าเคยเกิดเหตุน้ำท่วมมาก่อนก็หนีไม่พ้น   ดังนั้นหากเราจะสร้างบ้านใหม่สักที เตรียมพร้อมรับมือกันน้ำท่วมกันสักหน่อย มีอะไรที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับต้นๆ แล้วออกแบบสร้างบ้านให้เหมาะสม พร้อมรับมือภัยน้ำท่วมได้

แอดมินขอ List มา 9 ข้อที่ควรเตรียมหาข้อมูลก่อนตัดสินใจสร้างบ้านใหม่รับมือน้ำท่วมค่ะ

  1. สำรวจทำเล สร้างบ้าน : ควรมองหาสภาพดินที่แข็งแรง พื้นที่ชั้นหินแข็งแรง หรือชั้นดินที่หนาแน่น ประกอบด้วยดินเหนียวและทราย จะช่วยให้ดินยึดจับบ้านต้านภัยน้ำหลากได้ ดังนั้นหากอยู่ในพื้นที่มีประวัติน้ำท่วมถึง จึงควรหลีกเลี่ยงพื้นดินที่เป็นหินกรวด ทราย หรือดินเหลว
  2. ปรับที่ดินให้สูงกว่าพื้นถนนหน้าบ้าน : โดยแบ่งการถมดินออก 2 บริเวณ คือยกส่วนของสนามหญ้าหรือพื้นทางเดินรอบบ้าน เหนือถนนขึ้นมาสูงระดับหนึ่ง และยกส่วนของพื้นที่ของตัวบ้านขึ้นเหนือพื้นที่โดยรอบบ้านขึ้นอีกระดับหนึ่ง เพื่อไม่ให้ตัวบ้านดูสูงโดดเกินไป และควรปรับหน้าดินสนามหญ้าหรือพื้นทางเดินรอบบ้าน ให้มีความลาดเอียงเพียงพอ ที่จะระบายน้ำออกนอกบ้านลงรางน้ำริมถนนได้
  3. โครงสร้างของฐานรากใช้แบบเสาเข็ม : เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาการทรุดตัวของตัวบ้านในภายหลัง แม้การตอกเสาเข็มในแต่ละครั้งจะต้องใช้งบประมาณ แต่กลับเป็นส่วนสำคัญที่ป้องกันการทรุดตัวของดินและบ้านได้อย่างดี โครงสร้างฐานรากใช้แบบตอม่อและควรหล่อตอม่อยกตัวโครงสร้างเหล็กให้อยู่สูงจากระดับพื้นดิน เพื่อป้องกันความชื้นจากดิน
  4. ทาสารเคลือบกันน้ำ-กันชื้น :วัสดุบางอย่างเช่น รั้วเหล็ก ที่เลี่ยงไม่ได้ที่จะเป็นสนิม แต่คุณสามารถใช้เคมีบางอย่างในการเคลือบกันน้ำได้ สมัยนี้มีหลายตัวหลายยี่ห้อในตลาด เลือกทำโครงสร้างบ้านจากโครงเหล็กกล้าและเคลือบป้องกันสนิมเพื่อให้ใช้งานได้ในระยะยาว
  5. เลือกแบบบ้านยกสูงหนีระดับน้ำ : โดยหยิบยกบ้านแบบทรงไทยใต้ถุนสูงมาประยุกต์ใช้กับบ้านสมัยใหม่ ยกตัวบ้านให้อยู่เหนือระดับน้ำที่เคยท่วมสูงสุดได้ก็จะดี ตัวบ้านต้องตั้งบนเสาเข็มหรือกำแพงกันดินที่แข็งแรง อาจเสริมโครงสร้างทแยงเพื่อรัดโครงสร้างบ้านให้แข็งแรงขึ้น และให้ดูความเหมาะสมกับสัดส่วนของตัวบ้าน
  6. เลือกวัสดุทนน้ำ : โดยเฉพาะพื้นชั้นล่างของบ้าน ไม่ควรใช้วัสดุที่อมนํ้า เช่น พื้นไม้จริงหรือพื้นลามิเนต ทางที่ดีควรใช้กระเบื้องหรือหินซึ่งดูแลรักษาง่ายกว่า ส่วนผนังที่ใช้กระดาษหรือมีวอลล์เปเปอร์ ฯลฯ วัสดุเหล่านี้เมื่อโดนน้ำอาจจะทำให้เกิดอาการบวม หรือขึ้นราจากความชื้น โดยโครงสร้างที่แนะนำควรเป็นผนังก่ออิฐมวลเบา หรืออิฐมอญฉาบปูน ปัจจุบันมีวัสดุให้คุณเลือกหลากหลาย และยังมีเทรนด์วัสดุรักษ์โลกต่างๆอีก
  7. ยกปลั้ก (และระบบไฟฟ้า) : ปลั้กไฟ เครื่องปรับอากาศ และปั้มน้ำ ควรติดตั้งอุปกรณ์ทั้งหมดนี้ให้สูงหนีน้ำ สูงจากระดับพื้นอย่างน้อยประมาณ 120 cm ขึ้นไป ปลั้กไฟที่ติดตั้งต่ำเกินไปนอกจากน้ำท่วมถึงแล้ว ก็อาจเป็นอันตรายต่อเด็กเล็กในบ้านที่อาจนำสิ่งของ หรือเอามือไปแหย่ปลั๊กเล่น ส่วนผู้สูงอายุก็ก้มเสียบลำบากด้วย แม้การติดปลั๊กไฟไว้สูงอาจทำให้ผนังดูไม่สวยงาม/รกสายตา แต่ความปลอดภัยและการใช้งานควรต้องมาก่อน อีกทั้งปัจจุบันมีอุปกรณ์ตกแต่งเสริมปิดรูปลั๊กให้ดูสวยงามให้เลือกมากมาย
  8. แยกระบบวงจรไฟฟ้าแต่ละชั้นออกจากกัน : ออกแบบให้ระบบวงจรไฟฟ้าของตัวบ้านแต่ละชั้น แต่ละห้อง หรืองานระบบแยกออกจากกันตามฟังก์ชั่นการใช้งาน เช่น ระบบแสงสว่าง ระบบปรับอากาศ เพื่อให้ยังมีส่วนอื่นใช้งานได้อยู่ หากมีส่วนใดส่วนหนึ่งเกิดความเสียหายหรือป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่วเมื่อเกิดน้ำท่วม
  9. ติดตั้งระบบป้องกันน้ำไหลย้อน และเครื่องสูบน้ำ : เพื่อป้องกันน้ำไหลย้อนเข้ามาตามช่องทางท่อน้ำทิ้ง และสูบน้ำที่ท่วมขังภายในตัวบ้านออกไปด้านนอก

หากคุณกำลังมองหาผู้รับเหมาสร้างบ้าน ให้ buildman เป็นที่ปรึกษาเรื่อง การสร้างบ้าน เพียงเข้ามาลงทะเบียนเป็นสมาชิกกับบิลด์แมน ฟรี ที่ https://register.buildman.biz/

ตลาดกลางรับเหมาก่อสร้าง ที่จบครบในที่เดียว “ผู้รับเหมา ผู้ออกแบบ วัสดุก่อสร้าง” พร้อมเป็นคนกลางช่วยบริหารสัญญาก่อสร้าง ฟรี!

 

Line : @buildman (ใส่ตัว @ นำหน้าด้วยนะคะ)

E-mail : contact@buildman.biz

Facebook : Buildman Thailand

 

Posted in Uncategorized.

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *